ด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
เด็มโก้มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน ตระหนักถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล พร้อมปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Reselience) รับมือด้วยความคล่องตัว (Agility) และรวดเร็ว (Speed) ทั้งยังมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) อีกด้วย
ในปีนี้ เด็มโก้ได้มีการทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์องค์กร เพื่อสร้างผลการดำเนินงานและการเติบโตที่ยั่งยืน มีการเตรียมความพร้อมรับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น (Emerging Risks) อีกทั้งมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับและบริหารจัดการประเด็นต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (E) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (S) และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (G) ส่งผลให้เด็มโก้ สามารถบรรลุเป้าหมายและสร้างความไว้วางใจจากหน่วยงานต่าง ๆ
ความสำคัญ
เด็มโก้มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนา และเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่บริษัทจดทะเบียนพึงปฏิบัติทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายต่าง ๆ จริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
- ผลการประเมินโครงการสำรวจการกำกับบริษัทจดทะเบียน (CGR) ในระดับดีเลิศ
- มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อย 5 คณะ
ผลการดำเนินงานปี 2566
- การประเมินโครงการสำรวจการกำกับบริษัทจดทะเบียน (CGR) ในระดับดีเลิศ
- การประเมินการปฏิบัติงานคณะกรรมการชุดย่อย 5 คณะ
ความมุ่งมั่นและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ
เด็มโก้ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารกิจการที่ดีที่ยึดมั่นตามจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ ข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจดทะเบียน กฎ ระเบียบ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายการกำกับดูแลกิจการมาโดยตลอด กำหนดให้การกำกับดูแลกิจการเป็นหนึ่งในดัชนีวัดผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเด็มโก้ รวมทั้งกำหนดให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อยกระดับการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลอย่างสม่ำเสมอ
ด้วยปณิธานอันมั่นคงแน่วแน่ของเด็มโก้ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดการบริหารองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลที่ดี และเป็นองค์กรหนึ่งที่มีความเป็นเลิศทางด้านบรรษัทภิบาล จึงได้เผยแพร่นโยบายการกำกับดูแลกิจการของเด็มโก้ไว้บนระบบเครือข่าย DEMCO Intranet และบนเว็บไซต์ของเด็มโก้ www.demco.co.th เพื่อให้พนักงานและลูกจ้างของเด็มโก้ทุกคนได้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำนโยบายการกำกับดูแลกิจการของเด็มโก้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดเป็นรูปธรรม
สำหรับการพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจอย่างสมดุล ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสภายใต้การจัดการความเสี่ยง และการกำกับดูแลที่ดี มีการบริหารจัดการอย่างสมเหตุสมผลเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดำเนินธุรกิจอย่างมีศีลธรรม และเป็นมิตรต่อสังคม สิ่งแวดล้อม กับรู้ความเป็นไป รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ภายใต้กรอบ DEMCO Sustainable Development Platform
โครงสร้างการบริหารงาน
คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและให้ความสำคัญกับการสรรหากรรมการ การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่รวมถึงการประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นไปตามกรอบจริยธรรม ความเท่าเทียมกัน และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในการสรรหากรรมการบริษัทคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อทำหน้าที่สรรหาและกลั่นกรองบุคคลที่เหมาะสม มีการกำหนดหลักเกณฑ์การสรรหา โดยให้ความสำคัญกับความโปร่งใส โดยคำนึงถึงความหลากหลายของคุณสมบัติกรรมการ ทั้งในด้านความเป็นอิสระ ความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนเพศและอายุ และได้จัดทำตารางองค์ประกอบความรู้ความชำนาญของคณะกรรมการ (Board Skills Matrix) เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการโดยรวมมีความเหมาะสม ครบถ้วนความจำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้ จึงส่งผลองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดปัจจุบัน เป็นไปตามกฎหมายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความรู้ความชำนาญของกรรมการ (Skills Matrix)
การประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน ประจำปี 2566
เด็มโก้จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน 5 ครั้งต่อปี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อศึกษาผลกระทบและโอกาสทางธุรกิจ
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท
เพื่อประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินงานและการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท เด็มโก้ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการรายบุคคล เป็นประจำทุกปี ด้วยวิธีการประเมินตนเอง (Self Evaluation) และ / หรือ ประเมินแบบไขว้ (Cross Evaluation) โดยเด็มโก้จะนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประเมินผลการปฏิบัติของคณะกรรมการมาปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกำกับดูแลกิจการของเด็มโก้ ซึ่งผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ประจำปี 2566 มีดังนี้
ผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท
ผลการประเมินของคณะกรรมการคณะกรรมการชุดย่อย
หลักเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ประจำปี 2566
0 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือไม่มีการดำเนินการในเรื่องนั้น
1 = ไม่เห็นด้วย หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นเล็กน้อย
2 = เห็นด้วย หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นพอสมควร
3 = เห็นด้วยค่อนข้างมาก หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นดี
4 = เห็นด้วยอย่างมาก หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นดีเยี่ยม
ความสำคัญ
เด็มโก้ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพ ดูแลด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเปิดเผยข้อมูล การดูแลด้านชีวอยามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับจรรยาบรรณกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรม ธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร โดยวางหลักเกณ์และมาตรฐานการปฏิบัติงานให้กรรมการผู้บริหารและพนักงาน ถือปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้สอดคล้องกับนโยบายตลอดจนกฏหมาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
- สัดส่วนของพนักงานทุกคนได้รับการประเมินมาตราฐานจรรยาบรรณและจริยธรรม
- พนักงานทุกคน ได้รับการฝึกอบรม การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และระเบียบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
- ข้อร้องเรียนที่ไดรับการตรวจาอบและแก้ไข
ผลการดำเนินงานปี 2566
- พนักงานทุกคนได้รับการประเมินมาตรฐานจรรยาบรรณและจริยธรรม 100%
- พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรม การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและระเบียบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 100%
- ไม่มีข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
เด็มโก้ ได้จัดทำจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจขึ้น เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ยึดถือและปฏิบัติตามมาตรฐานด้านจริยธรรมที่สูงที่สุด เนื่องจากกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ มีความเชื่อที่ว่าแยวทางเกี่ยวกับจริยธรรมเป็นเครื่องมือในการนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วยเสียอื่น ๆ
การต่อต้านการทุจริตคอรรัปชันและสินบน
คณะกรรมการบริษัท ได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการภายใต้กรอบการบริหารจัดการของการมีจริยธรรมที่ดี มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้รวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับ มีจิตสำนึก ในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม เด็มโก้ ได้จัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนดไว้ ตลอดจนเพื่อให้บุคลากรทุกระดับของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ ยึดถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงาน
แนวทางบริหารจัดการการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชันและสินบน
เด็มโก้มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส บนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซื่อสัตย์ มีคุณธรรม โดยมุ่งผลลัพธ์ที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างผลตอบแทนที่ดีและมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนให้กับนักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน ผู้บริหาร และกรรมการของเด็มโก้เป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาองค์กรให้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็มโก้สามารถดำเนินธุรกิจให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เด็มโก้จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนให้สอดคล้องกับคู่มือบริหารความเสี่ยง (Risk Management Manual) โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความเข้าใจในโอกาสเกิดและระดับผลกระทบที่เด็มโก้อาจจะได้รับจากความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน
นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เพื่อระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งงานในการป้องกัน ตรวจพบ และตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านการทุจริตให้ชัดเจนและเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานหรือตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators : KPIs) สำหรับเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน และเพื่อวัดผลการดำเนินงานเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เป็นต้น โดยคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนจะมีการทบทวนให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี สำหรับการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน เด็มโก้ได้มีการทบทวนแผนงานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งพบว่ายังมีความเหมาะสมและไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า
การร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน
เด็มโก้ได้ลงนามเข้าร่วมเป็น “สมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย” เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในทุกรูปแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็มโก้มีนโยบายกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจ เด็มโก้ โดยคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (“CAC”) มีมติให้การรับรองบริษัทเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 จนถึงปัจจุบัน
ผลการดำเนินงานต่อต้านการทุจริต
- ประกาศนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน / การสื่อสารภายใน
- ทบทวนและประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน
- ให้ความรู้แก่พนักงาน ผ่านระบบ E-Learning (ระบบอินทราเน็ต) เรื่อง คู่มือมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน, นโยบายการให้ของขวัญและการเลี้ยงรับรอง & นโยบายการบริจาคและสนับสนุน
- สื่อสารให้พนักงานเข้ารับการอบรมตามแผนการอบรมประจำปี 2566 หลักสูตรสุจริตไทย (Online) ต่อเนืองเป็นปีที่ 2 ผ่านเว็บไซต์ thaihonesty.org
จัดกิจกรรมแสดงสัญลักษณ์การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 โดยมีนายไพฑูรย์ กำชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสนับสนุนธุรกิจ เป็นผู้นำร่วมแสดงสัญลักษณ์ ต่อต้านการทุจริต
การสร้างวัฒนธรรมองสค์กรเชิงจริยธรรม (Ethical Culture)
คณะกรรมการตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งถือเป็นรากฐานของการดำรงอยู่ และความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจในอนาคตของเด็มโก้ การสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กร เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจด้วยเช่นกัน เด็มโก้ ได้กำหนดค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรของกลุ่มบริษํทเด็มโก้ ไว้ 6 ด้าน ดังนี้
ในปี 2566 เด็มโก้ ได้จัดทำแบบประเมินตนเองด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมในการปฏิบัติงานประจำปี โดยกำหนดช่องทางการสื่อสารในการทำแบบประเมินจริยธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน (Ethical Self-Assessment) ของพนักงาน ทุกเดือนตุลาคมของทุกปีและได้สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน และเพื่อเป็นการส่งเสริมกำกับวัฒนธรรมองค์กรของกลุ่มบริษัมเด็มโก้ ให้เป็นไปในแนวทางที่กำหนดไว้และสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องตามนโยบายที่กำหนด ตอบสนองต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืนในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนสะท้อนปัญหาสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
ในปี 2566 เด็มโก้ จัดอบรมออนไลน์คู่มือการปฏิบัติงานและให้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยพนักงานสามารถศึกษาทำแบบทดสอบและรับใบประกาศนียบัตร (ออนไลน์) ได้ด้วยตนเองผ่าน www.info.demco>กฎหมาย>E-Learning เรื่อง นโยบายและคู่มือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ฯ ทั้งนี้ ในปี 2566 เด็มโก้ไม่พบการกระทำที่ละเมิดนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์
การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
เพื่อให้การบริหารงานและการพัฒนาองค์กรสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เด็มโก้ได้จัดทำช่องทางการแจ้งเบาะแส ให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร สามารถรายงานและแจ้งเบาะแสหรือข้องร้องเรียนในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการทุจริต และการกระทำผิดกฎหมายขึ้น โดยกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสด้วยเช่นกัน ในส่วนของช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตและกระทำผิด ดังนี้
ขอบเขตการร้องเรียน / การแจ้งเบาะแส
การกระทำน่าสงสัยว่าฝ่าฝืนหลักปฏิบัติที่ดี ดังต่อไปนี้
- การฝ่าฝืนการปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- การฝ่าฝืนกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท
- การได้รับความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน
- การกระทำทุจริตคอร์รัปชัน
หลักเกณฑ์ในการรับเรื่องร้องเรียน
- อาจแสดงหรือไม่แสดงตัวตนได้
- ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สุภาพ
- ข้อมูลที่ได้รับจะเก็บเป็นความลับ
- ผู้แจ้งเบาะแส/ร้องเรียน จะได้รับความคุ้มครองสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือบุคคลภายนอก
- เป็นเรื่องที่ผู้ร้องหรือบริษัทได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย
- ข้อร้องเรียนที่ผู้ร้องที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ให้ยุติเรื่องและเก็บเป็นฐานข้อมูล
การตอบสนองผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแส
- การตอบสนอง ตอบกลับผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแสไม่เกิน 7 วันทำการ หลังจากได้รับข้อร้องเรียน
- การพิจารณาดำเนินการตามเรื่องร้องเรียน ขึ้นอยู๋กับความซับซ้อนของเรื่อง ความเพียงพอของเอกสาร หลักฐานที่ได้รับและคำชี้แจงของผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแส แต่ไม่เกิน 30 วันทำการ
การตอบสนองผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแส
ยื่นเรื่องด้วยตนเอง
(ตู้รับเรื่องร้องเรียน สำนักงานใหญ่ชั้น 2 อาคาร 1)
ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ :
รองกรรมการผู้จัดการสำนักงานตรวจสอบ
บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 59 หมู่ 1 ต.สวนพริกไทย อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000
ผ่านระบบ Internet ทาง Website ของบริษัท
www.demco.co.th/การกำกับดูแลกิจการที่ดี/ช่องทางการร้องเรียนและกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน
ส่งหนังสือร้องเรียน / แจ้งเบาะแส ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามช่องทางนี้
- คณะกรรมการตรวจสอบ Email : Auditcom@demco.co.th
- คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน Email : goodgovernance@demco.co.th
- เลขานุการบริษัท Email : Com_Secretary@demco.co.th
- เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ Email : Ac_Secretary@demco.co.th
- เลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ Email : Gov_Secretary@demco.co.th
ความสำคัญ
ภายใต้สภาวะความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจนำมาซึ่งความเสี่ยงอันท้าทายที่เด็มโก้ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสียได้อีกทางหนึ่งอย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ในอัตราเร่งที่สูงขึ้น นำมาซึ่งความเสี่ยงที่รุนแรงกว่าเดิมโดยเฉพาะความเสี่ยงในระดับกลยุทธ์จำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้ และพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
- มีการบริหารจัดการความเสี่ยงติดตามและทบทวนความเสี่ยงระดับหน่วยงาน 100 %
ผลการดำเนินงานปี 2566
- การบริหารจัดการความเสี่ยง ติดตามและทบทวนความเสี่ยงระดับหน่วยงาน 100 %
ความมุ่งมั่นและแนวทางสู่ความสำเร็จ
เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง การกำกับการประเมิน การติดตาม การรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยมีสายงานบริหารความเสี่ยงที่เป็นหน่วยงานอิสระรายงานขึ้นตรงต่อ กรรมการผู้จัดการทำหน้าที่เป็นเลขานุการ รวมทั้งวางกรอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนี้
- นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง
- กลยุทธ์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร
- โครงสร้างและกรอบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทั้งระดับองค์กรและระดับหน่วย
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับกรรมการบริษัทและระดับจัดการที่เป็นตัวแทนของทุกหน่วยงาน
- ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับสากล (COSO ERM Framework)
- การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) มีแผน เพื่อลดผลกระทบของความเสี่ยงเหล่านั้นต่อการดำเนินธุรกิจ
- มีระบบการบริหารความต่อเนื่องการดำเนินงาน (Business Continuity Management : BCM) หรือแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP)
- การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2566 เด็มโก้ได้ทบทวน วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงแผนกลยุทธ์ นโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยงและผลกระทบรอบด้านทางธุรกิจเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และ/หรืออาจจะเกิดขึ้น มีการทบทวน ปรับปรุงแนวทางการจัดการความเสี่ยงหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Key Risk) ทบทวนแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) นำ "Risk Appetite" และ "Risk Tolerance" ใช้ในกรอบการบริหารความเสี่ยง ปี 2567 ทบทวนตัวชี้วัดความสำเร็จด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงาน ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกับบริหารความเสี่ยงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เด็มโก้ยังให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลความเพียงพอของระบบบริหารความเสี่ยงที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee: AC) และการทวนสอบประสิทธิภาพของผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงโดยคณะกรรมการบริษัท เป็นรายปี เพื่อ ให้มั่นใจว่าเด็มโก้ ได้นำเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนต่อการผลักดันประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (EMERGING RISK)
การพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption Risk)
ความเสี่ยงจาก Technology Disruption ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของเด็มโก้ ทำให้เสียโอกาสในการหาลูกค้าการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไป รวมถึงพัฒนาด้านอื่น ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคน เทคโนโลยีโทรคมนาคมระดับ 5G การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent : AI) มาใช้ เป็นต้น
แนวทางการดำเนินการ :
เด็มโก้จัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ให้กับพนักงานและสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานได้ รวมถึงเสริมสร้างการตระหนักถึงความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่พนักงานทุกคนในองค์กร ปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานภายในให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้นพัฒนาการออกแบบโดยใช้ Software และวิธีการทำงานใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนและลดระยะเวลาการก่อสร้างเพื่อให้สามารถทำงานที่ใดก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Risk)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีความรุนแรงและความถี่ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น ปริมาณความเข้มของแสงอาทิตย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ความเร็วของลมไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อปริมาณการผลิตไฟฟ้าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ กระทบต่อรายได้จากการขายไฟ
แนวทางการดำเนินการ :
เด็มโก้ได้กำหนดค่าเผื่อไว้ในโมเดลการคำนวณ มีการศึกษาข้อมูลสถิติจากแหล่งที่น่าเชื่อถือย้อนหลังมากที่สุดที่จะหาได้ ให้ความสำคัญกับการเดินระบบและซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance : O&M และติดตามประสิทธิภาพของการผลิตไฟอย่างใกล้ชิด พร้อมแก้ปัญหาทันทีเมื่อประสิทธิภาพการผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการติดตามประสิทธิภาพของแผนการผลิต และออกแบบพื้นที่ติดตั้งแผง Solar ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยนำโปรแกรม PVSyst มาใช้ประเมินเพื่อพิจารณาด้านเทคนิคในการติดตั้งจากพื้นที่แต่ละโครงการ
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk)
การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายและนโยบายของหน่วยงานทางภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ส่งผลกระทบทางด้านการเงิน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ซึ่งอาจเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น
แนวทางการดำเนินการ :
ลงทุนในกิจการพลังงานสะอาด หรือกิจการพลังงานทดแทน ติดตามข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจ และหาพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงเข้าร่วมการขึ้นทะเบียนรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
การสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง
เด็มโก้มุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงภายในองค์กรโดยการจัดอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่พนักงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง การจัดฝึกอบรมทั้งในรูปแบบออน์ไลน์ (E-Learning) และรูปแบบเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จนการบริหารความเสี่ยงกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่ทุกคนต้องปฏิบัติเสมือนการดำเนินการปกติภายในบริษัท
การจัดอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการความเสี่ยง
อบรมภายใน (In-House Training)
เทคนิคการพัฒนา Risk Strategic Plan สำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงคู่ขนานกับกลยุทธ์องค์กร รุ่น 3
วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2566
วัตถุประสงค์ :
ให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงแนวคิดการจัดทำ Risk Strategic Plan ที่มีเป้าหมายความเสี่ยงและเกณฑ์ความเสี่ยงที่ชัดเจนคู่ขนานกับกลยุทธ์องค์กร และแนวทางการจัดการทำแผนกลยุทธ์ความเสี่ยงในระดับเดียวกับกลยุทธ์ เพื่อรองรับต่อความคาดหวังและความท้าทายในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
หลักการทั่วไปการบริหารสัญญาและความเสี่ยงของงานก่อสร้าง
วันที่ 16 สิงหาคม 2566
วัตถุประสงค์ :
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในหลักการบริหารสัญญาและการบริหารความเสี่ยงในงานก่อสร้างและสามารถวิเคราะห์และเข้าใจเทคนิคการควบคุมและติดตามแผนการจัดการความเสี่ยง
อบรมหลักผ่านระบบออนไลน์
เทคนิคเทคนิคการกำหนด KRIs ที่เชื่อมโยงกับ KCIs และ KPIs
วันที่ 18 - 19 กันยายน 2566
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงความสำคัญ ของ KCIs และ KPIs และนำมาใช้ประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับค่าเป้าหมายความเสี่ยงและ เกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ตลอดจนเชื่อมโยงกับ KPIs ขององค์กร
การบริหารความเสี่ยง และกลยุทธ์องค์กรด้วยมาตรฐาน COSO ERM 2017
วันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2566
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง COSO ERM 2017 เปรียบเทียบกับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงหลักอื่น
ความสำคัญ
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของเด็มโก้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน ถึงแม้ว่าเด็มโก้จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ไม่สามารถป้องกันได้เช่น ปัจจัยเสี่ยงจากภัยคุกคามจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากการก่อการร้ายวินาศกรรม การโจมตีทางไซเบอร์ และการเกิดโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ชื่อเสียง และความเชื่อมั่น
ดังนั้น เด็มโก้จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Management : BCM) และการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและมั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ เด็มโก้จะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือกลับมาดำเนินธุรกิจได้ในเวลาที่เหมาะสม
เด็มโก้ จัดทำระบบการบริหารการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล เช่น ISO22301:2012 ซึ่งครอบคลุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องเช่น การระบุหน่วยธุรกิจที่สำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ การประเมินความเสี่ยง การจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และการฝึกซ้อมตามแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เด็มโก้ ได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารภาวะวิกฤต (Crisis Management Steering Committee) โดยมีการติดตามสถานการณ์และรายงานความคืบหน้าของแผนดำเนินการต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนทีมงานในการดำเนินงานช่วงสถานการณ์ภาวะวิกฤต นอกจากนี้ยังมีทีมสนับสนุนเช่น คณะทำงานเหตุการณ์วิกฤต (Crisis Working Team : CWT) โดยดำเนินการฝึกซ้อมความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นประจำทุกปี
แนวทางการบริหารจัดการ
การบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เน้นการให้ความสำคัญกับการฟื้นคืนกระบวนการหลักที่จำเป็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในกรณีเกิดภาวะวิกฤติภายในเวลาที่ยอมรับได้ ส่วนกระบวนการสนับสนุนอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วน จะได้รับการฟื้นคืนในลำดับถัดไป
ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี
ในปี 2566 ได้มีการทบทวนปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่อง (ฺBCP) ของเด็มโก้ โดยมีการประเมินผลจากสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุวิกฤตแล้วทำให้ระบบ IT / ERPได้รับความเสี่ยงหาย เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมต่อการรับมือในสถานการณ์จริงอยู่เสมอ
ความสำคัญ
เด็มโก้มุ่งมั่นปลูกฝักและพัฒนา “นวัตกรรม” (Innovation) ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร เด็มโก้จึงให้ความสำคัญกับการคิดสร้างสรรค์และการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจเนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถเพิ่มพูนศักยภาพของเด็มโก้ให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
- มีนโยบายการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการนวัตกรรม
- มีผลงานนวัตกรรม 2 รายการ
ผลการดำเนินงานปี 2566
- มีนโยบายจัดการนวัตกรรม
- ผลงานนวัตกรรม 0 รายการ
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
เด็มโก้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ด้านนวัตกรรมให้แก่พนักงานในองค์กรคิดสร้างสรรค์และการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจเนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถเพิ่มพูนศักยภาพของเด็มโก้ให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน เด็มโก้จึงมีนโยบายส่งเสริม
สนับสนุน ให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนานวัฒกรรมขององค์กรในทุกกระบวนการทำงานเพื่อสร้างคุณค่าและเกิดความคุ้มค่า (Value) สามารถตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังที่เปลื่ยนแปลงอย่างรวดร็วของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดจนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของเด็มโก้ รณรงค์และผลักดันให้มีการบริหารจัดการนวัตกรรมและองค์ความรู้อย่างเป็นระบบในองค์กร
นโยบายการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการนวัตกรรม
เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการคิดสร้างสรรค์และการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์การบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถเพิ่มพูนศักยภาพของเด็มโก้ให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน เด็มโก้ จึงมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนานวัตกรรมขององค์กรในทุกกระบวนการทำงาน
เพื่อสร้างคุณค่าและเกิดความคุ้มค่า (Value) สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังที่เปลื่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้เสีย ตลอดจนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของเด็มโก้ เด็มโก้รณรงค์และผลักดันให้มีการบริหารจัดการนวัตกรรมและองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบในองค์กร
แนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมนวัตกรรม
เด็มโก้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งถือเป็ฯรากฐานของการดำรงอยู๋และความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจในอนาคตของเด็มโก้ การสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กรเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจด้วยเช่นกัน เด็มโก้จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านการเปลื่ยนแปลงและนวัตกรรม (Change and Innovation Culture) เพื่อปลูกฝัง สร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้บริหารและพนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการเปลื่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่และจัดหารเพิ่มเติม มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน และพัฒนาระบบในกลุ่มบริษัทเด็มโก้ ให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงาน
เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการคิดค้นสร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานทั้งการลดระยะเวลาที่ไม่จำเป็นในการทำงาน อำนวยความสะดวกพนักงานในการทำงาน ทำให้พนักงานสามารถทำงานอย่างอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของเด็มโก้ ซึ่งในปี 2566 ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงานในทุกกระบวนการทำงานต่างๆภายในองค์กร ทั้งสิ้น 31 เรื่อง
ความสำคัญ
เด็มโก้ให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เด็มโก้สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพขยายความสามารถในการแข่งขันและลดความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของคู่ค้า
นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน เด็มโก้จึงมีแนวทางในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกคู่ค้า การควบคุมคุณภาพของวัสถุดิบสินค้าและบริการของคู่ค้าจนถึงกระบวนการประเมินผลการดำเนินงานประจำปี ตลอกจนการรักษาความสัมพันธที่ดีกับผ็มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเด็มโก้ที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าด้วยความโปร่งใส
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
- สัดส่วนการจัดซื้อสินค้าในหมวดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม > 20% (จากรายการวัสดุสิ้นเปลืองและเครื่องใช้สำนักงาน)
ผลการดำเนินงานปี 2566
- การจัดซื้อสินค้าในหมวดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 31.13%
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ ซึ่งคำนึงถึงการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) สิ่งแวดล้อม (Environment) และการกำกับดูแลกิจการ (Governance) และได้ดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบอย่างสิ้นเชิง ในปี 2566 จึงได้มีการทบทวนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ เพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)
การบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน
เด็มโก้ได้พัฒนากระบวนการบริหารจัดการาคู่ค้าขององค์กรเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้คู่ค้าของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้มีแนวทางเดียวกัน โดยจัดทำแนวทางการปฎิบัติของคู่ค้าของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ (Supplier Code of Conduct and Guideline) ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental , Social and Governance : ESG ) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเด็มโก้ในการสนับสนุนให้คู่ค้ามีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเกิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปฎิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวไปด้วยกัน ซึ่งกรอบของแนวทางประกอบไปด้วย 4 แนวทางหลัก ดังนี้
จรรยาบรรณและแนวทางปฎิบัติคู่ค้า
เด็มโก้ได้จัดทำจรรยาบรรณและแนวทางปฎิบัติคู่ค้า โดยมัวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าเด็มโก้ และกลุ่มบริษัทเด็มโก้ ดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพและปฎิบัติต่อแรงงานอย่างป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน ให้ความสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
นโยบายการกำหนดระยะเวลาการชำระเงินให้กับคู่ค้า
เด็มโก้ได้ดำเนินการจัดทำนโยบายการกำหนดระยะเวลาการชำระเงินให้กับคู่ค้า เพื่อกำหนดระยะเวลาการชำระเงินให้กับคู่ค้า และกำหนดหลักเกณฑ์การจัดการระยะเวลา การชำระเงินเพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางการปฎิบัติเบื้องต้น เพื่อสนับสนุนให้ เด็มโก้ สามารถบริหารจัดการเงินและพัฒนาธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียกเพิ่มเติมที่เว็บไซต์บริษัท www.demco.co.th หมวดการ กำกับดูแลกิจการที่ดี
หลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเภทลูกค้า
เด็มโก้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประดภทคู่ค้า ซึ่งทำให้องค์กรสามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านการจัดซื้อรวมถึงนำไปเป็นข้อมูลในการประเมินความเสียงที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้าตามความสำคัญของกลุ่มสินค้าและคู่ค้าตามมูลค่าการจัดหาและระดับความเสี่ยงในการจัดหา เพื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและแนวทางการบรรเทาความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากกลุ่มสินค้าและคู่ค้าที่มีมูลค่าสูง ระดับความเสี่ยงและผลกระทบต่อรายได้บริษัท ดังนี้
การประเมินคู่ค้ารายสำคัญ
ในปี 2566 เด็มโก้ได้ดำเนินการจัดแบ่งประเภทคู่ค้าไฟฟ้าและโยธา ทั้งสิ้น 41 ราย จากคู่ค้าทั้งหมดตามเกณฑ์การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนการดำเนินการกับคู่ค้ารายสำคัญ
การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เด็มโก้ให้ความสำคัญในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มบริษัทเด็มโก้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีแนวทางปฎิบัติไปในทิศทางเดียวกัน อันก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียผ่านการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเด็มโก้ได้เริ่มดำเนินการจัดซื้อสินค้าที่จะทดแทนวัสดุสิ้นเปลืองและเครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมาเด็มโก้มีสัดส่วนการจัดซื้อสินค้าที่ทดแทนวัสดุสิ้นเปลืองและเครื่องชำสำนักงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 31.13
ความสำคัญ
เด็มโก้มีความมุ่งมั่นที่จัดให้มีแนวทางการบริหารจัดการด้านภาษีที่รัดกุมส่งเสริมการสร้างมูลค่าและคุณค่าสูงสุดให้แก่กิจการ มีการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกําหนด ตลอดจนการวางแผนและปฏิบัติงานด้านภาษีสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันตามแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล โดยยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจอีกทั้ง ให้สอดคล้องกับแนวทางการดําเนินงานด้านความยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นให้ธุรกิจมีการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
การบริหารจัดการทางภาษี
- มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านภาษีโดยยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีของประเทศที่บริษัทมีการดําเนินธุรกิจ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเด็มโก้จะใช้ความรอบคอบและความโปร่งใสเป็นหลักเกณฑ์ในการดําเนินงานด้านภาษีหากกฎหมายภาษีไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
- มีแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยื่นแบบชําระเงินและการขอคืนภาษีภายในกําหนดเวลาอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมาย
- มีระบบควบคุมการปฏิบัติงาน ในกระบวนการดําเนินงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบริหารหนี้สินด้านภาษีอย่างครบถ้วนและชัดเจน
- มีการเปิดเผยและจัดทํารายงานด้านภาษีที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ รวมถึงการแสดงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอย่างถูกต้อง
- มีการเปิดเผยและจัดทํารายงานด้านภาษีที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ รวมถึงการแสดงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอย่างถูกต้อง
ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี
เพื่อให้สามารถปฏิบัติและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กร ซึ่งช่วยให้ชำระภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักกฎหมาย หลีกเลี่ยงค่าปรับเงินเพิ่ม ลดข้อผิดพลาดในการคำนวนภาษีและเป็นการวางแผนอย่างรัดกุุมเพื่่อป้องกันปัญหาทางภาษีอากรที่่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในปี 2566 เด็มโก้จึงได้จัดทำนโยบายนโยบายการปฏิบัติของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ นอกจากนี้ยังได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านภาษีของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ จัดทำ Transfer Pricing Review และสื่อสารให้พนักงานได้รับทราบ
ความสำคัญ
เด็มโก้เคร่งครัดในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อปฏิบัติโดยระบุไว้ใน “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ” ในเรื่องของการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตรงเวลา หรือสูงกว่าความคาดหวังของลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม โดยเด็มโก้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลในการตัดสินใจอีกประเด็นที่สำคัญคือการรักษาความลับของลูกค้า ซึ่งเด็มโก้ปฏิบัติตามนโยบายและจรรยาบรรณว่าด้วยการรักษาความลับ การเก็บรักษาข้อมูลและการใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งรวมถึงการปกปิดข้อมูลลูกค้าและความลับทางการค้า ไม่มีการนำข้อมูลใด ๆ ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ ยิ่งไปกว่านั้นเด็มโก้ได้ทำการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว และจัดให้มีระบบตลอดจนช่องทางให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าและสรุปข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ เพื่อเข้าสู่การทบทวนระบบคุณภาพและการพัฒนาต่อไป
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
- ความพึงพอใจลูกค้าอยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 85
ผลการดำเนินงานปี 2566
- ความพึงพอใจของลูกค้า 94%
แนวทางการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าของบริษัทฯ มีดังนี้ :
- เสริมสร้างความผูกพันกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
- มุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
- นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงความยั่งยืนและสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้
- การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปีและการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความผูกพันและความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและเป็นแนวทางในการแก้ไขข้อร้องเรียนจากลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- แนวปฏิบัติในการดูแลและเก็บรักษาข้อมูลสัญญา ข้อตกลงซื้อขายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจร่วมกับลูกค้าเป็นอย่างสูง โดยจัดให้มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า เป็นประจำทุกปี เพื่อยกระดับความผูกพันและความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและเป็นแนวทางในการแก้ไขข้อร้องเรียนจากลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยมีการนำเสนอผลการสำรวจต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการวางแผน บริหารจัดการ พัฒนา ปรับปรุงคุณภาพ การส่งมอบและบริการ ตลอดจนถ่ายทอดข้อมูล และการดำเนินการตอบสนองต่อผลตอบรับของลูกค้าต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
โดยแบ่งการสำรวจเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ระยะที่ 1 ภายหลังการประมูลงาน (หลังจากทราบผลการประมูลอย่างเป็นทางการแล้วภายใน 15 วันทำการ)
ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ (ความก้าวหน้าของงานประมาณ 50%)
ระยะที่ 3 ปิดจบโครงการ (หลังจากวางบิลงวดสุดท้ายแล้ว ภายใน 15 วันทำการ)
ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี
โครงการมอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้กับสถาบันการศึกษาร่วมกับบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
เด็มโก้ ร่วมกับ บริษัท บี.กรีม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการส่งมอบอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง ระบบ 115 กิโลโวลต์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อและประโยชน์การเรียนรู้
การรักษาข้อมูลของลูกค้า
เด็มโก้มีการกำกับดูแลป้องกันและรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างเข็มงวด โดยได้จัดทำนโยบายการจัดการข้อมูลลับและข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ และนโยบายการทำสัญญาปกปิดความลับ รวมถึงแนวปฏิบัติในการดูแลและเก็บรักษาข้อมูลสัญญา การรักษาความลับและการใช้ข้อมูล
นอกจากนี้ สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของกรรมการผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทลูกค้า เด็มโก้ได้ดำเนินการวางแผน วิเคราะห์ และปฏิบัติการเพื่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ เด็มโก้ ไม่พบกรณีการละเมิดข้อมูลของลูกค้าและไม่มีข้อร้องเรียนด้านการรักษาข้อมูลลูกค้า